กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถ้าไม่ตักเตือนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย

 

ผิดวินัยอย่างร้ายแรง  เมื่อเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยด้วย

แม้ว่าลูกจ้างจะกระทำผิดวินัยเป็นกรณีร้ายแรง   เมื่อนายจ้างไม่เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อนจะไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างไม่ได้  

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 5  " ค่าชดเชย " หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง  นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(1)จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(4)ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือ เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

เรื่องจริงอิงฎีกา/ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13806/2555

..........การกระทำใดๆ จะเป็นกรณีผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่  ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นประกอบด้วย  หาใช่ถือเอาตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแต่อย่างเดียวไม่  การที่โจทก์ใช้กำลังทำร้ายเพื่อนร่วมงานในห้องพนักงานสำรวจอุบัติเหตุในเวลาประมาณ 5.30 นาฬิกา เป็นเวลาก่อนการทำงานตามปกติของพนักงานทั่วไป  และเมื่อมีผู้เข้าห้ามปรามก็เลิกรากันไป  จึงไม่เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลย  การกระทำของโจทก์จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรง  เมื่อจำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน  จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่

 

Visitors: 57,289