ไม่มีเจตนาฉ้อโกง

 

# มีพฤติกรรมหลองลวงจริง  แต่ไม่มีความผิดฉ้อโกงจริงหรือ

 การกระทำผิดฉ้อโกงจะต้องมีเจตนา    มิใช่เพราะมีผู้วางแผนในการพิสูจน์ว่ากระทำความผิดจริงหรือไม่  

 

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 341  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

เรื่องจริงอิงฎีกา/  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10510/2555

.........ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักข่าวได้รับการร้องเรียนถึงพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่หลอกลวงขายเหล็กไหลจากผู้ชมรายการของผู้เสียหาย  จึงวางแผนพิสูจน์การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเพื่อให้มีการจับกุมมาลงโทษ  หลังจากที่มีการติดต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวจนทราบแน่ชัดว่ามีพฤติกรรมในการหลอกลวงจริง  จึงประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุม  โดยผู้เสียหายนำเงินที่จะต้องวางประกันในการทำสัญญาจะซื้อจะขายเหล็กไหลไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็เพื่อจะได้เป็นหลักฐานของการกระทำความผิด  พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาจึงเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเอง  โดยการหลอกล่อกลุ่มบุคคลดังกล่าว  ซึ่งก็คือจำเลยทั้งห้ามากระทำความผิด  อันเป็นการก่อให้จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง  มิใช่เพราะจำเลยทั้งห้ามีเจตนาจะฉ้อโกงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย

Visitors: 50,515