เลิกจ้างเพราะสภาพทางเพศ

 

# นายจ้างเลิกจ้างเพราะมีสภาพทางเพศต่างกันเป็นอย่างไร

ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี  และลูกจ้างชายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55  ปี  เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี  ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(1)ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน............................

(2)ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี.........................................

(3)ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี.........................................

(4)ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี...........................................

(5)ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป...................................

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้  ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด  และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป   

 

เรื่องจริงอิงฎีกา/  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011-6017/2545

........ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้างของจำเลยเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน  กำหนดวันและเวลาทำงาน  ค่าจ้าง  สวัสดิการ  การเลิกจ้าง  หรือประโยชน์อื่นใดอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานจนถึงออกจากงาน  จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5,10,11  ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 108 ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานที่มีผลผูกพันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง  แต่ข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี  และลูกจ้างชายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปี  เป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยไม่เท่าเทียมกัน   โดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างชายและหญิงทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานแตกต่างกันอย่างไร  จึงขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงานฯ มาตรา 15 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ข้อบังคับดังกล่าวเฉพาะส่วนที่ให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปี จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่มีผลใช้บังคับ

Visitors: 50,515