เช็คชำระหนี้กู้ยืมเงินกับดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด

 

# เช็คที่รวมดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินที่ผิดกฎหมาย

เช็ค คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย  สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง  หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน      แต่เงินตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายจะต้องจ่ายเพื่อหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย   เช่น  การกู้ยืมเงินที่กฎหมายยอมให้เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี  แต่ถ้ามีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ได้กำหนดว่าเช็คนั้นชำระเงินต้นเท่าใด  ชำระดอกเบี้ยเท่าใด    ลูกหนี้ที่สั่งจ่ายเช็คชำระเงินกู้ยืมแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย  

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้

(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

 

พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475

มาตรา 3 บุคคลใด

(ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

 

พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560

มาตรา 4 บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใด ๆ  อันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน  โดยมีลักษณะอยางใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

(2) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

 

เรื่องจริงอิงฎีกา/  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549

.........โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี  เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ มาตรา 3 (ก)  เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด  ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องทั้ง 7 ฉบับ  ที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ทุกฉบับ  แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 7 ฉบับ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง

 

Visitors: 58,515