เมื่อศาลออกหมายจับทำอย่างไร

  

เมื่อศาลออกหมายจับต้องทำอย่างไร

หมายจับ

การออกหมายจับ เป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลประชาชนที่่ได้รับความเสียหายรุนแรงอย่างยิ่งหากหมายจับนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 

มาตรา 28  บัญญัติว่า  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย   การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ 

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตหรือร่างกายจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

 

หมายจับนั้น   บุคคลที่จะออกหมายจับได้จะต้องออกโดยศาลเท่านั้น ซึ่งหมายจับเป็นหนังสือของศาลที่ระบุให้ไปเอาตัวมาไว้ภายใต้อำนาจของรัฐ  โดยหมายจับนั้นให้รวมถึงสำเนาหมายจับที่ได้รับรองความถูกต้องของเจ้าหน้าที่รัฐแล้วด้วย   หรือเป็นหมายจับที่ส่งทางโทรศาล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์  หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นที่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

การที่ศาลออกหมายจับได้จะต้องมีเหตุตามกฎหมาย  ดังต่อไปนี้

(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี  หรือ

(2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

 

เมื่อศาลออกหมายจับแล้วก็สามารถใช้ได้ทั่วราชอาณาจักรไทยจนกว่าจะจับตัวผู้กระทำผิดได้  เว้นแต่ความผิดตามหมายจับนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายจับได้มีการถอนคืนหมายแล้ว   และหากกรณีศาลออกหมายจับบุคคลผู้กระทำผิดแล้ว  แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวอยู่ในที่รโหฐานก็ไม่อาจจะนำหมายไปจับผู้กระทำผิดได้ถ้าไม่มีหมายค้นของศาล

 

หมายค้น

การออกหมายค้น  ตามหลักรัฐธรรมนูญแล้วจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่เป็นเหตุตามกฎหมายเช่นเดียวกับการออกหมายจับ  ซึ่งเจ้าพนักงานจะค้นตัวบุคคลใดในที่สาธารณะสถานจะต้องมีเหตุว่าน่าจะได้กระทำผิดหรือมีสิ่งผิดกฎหมาย  แต่ถ้าหากเป็นการค้นในที่รโหฐาน (สถานที่หวงกันไว้โดยเฉพาะ)  เช่น การค้นภายในบ้านจะต้องได้รับความยินยอมก่อนจึงจะทำการค้นได้  แต่หากไม่มีการให้ความยินยอมเพราะถือว่าเป็นสิทธิในการอยู่อาศัยเป็นส่วนตัวจะกระทำไม่ได้หากไม่มีหมายค้น    

 

การออกหมายค้นมีเหตุตามกฎหมาย  ดังต่อไปนี้

(1) เพื่อพบและยึดส่ิงของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน  ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา

(2) เพื่อพบและยึดส่ิงของซึ่งมีไว้เป็นความผิด  หรือได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำความผิด

(3) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

(4) เพื่อพบและยึดส่ิงของตามคำพิพากษาหรือตามคำสั่งของศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว

 

ดังนั้น เมื่อจะออกหมายค้นซึ่งออกเพื่อพบและจับบุคคลผู้ทำผิดห้ามไม่ให้ศาลออกเว้นแต่จะมีหมายจับบุคคลผู้ทำผิดด้วย และเจ้าพนักงานผู้ทำการตามหมายของศาลหากจะจับบุคคลใดในบ้านเจ้าพนักงานจะต้องมีหมายค้นพร้อมกับหมายจับนั้นด้วย

 

หมายจับ  หมายค้น.................ต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความดังต่อไปนี้

(1) สถานที่ที่ออกหมาย

(2) วันเดือนปีที่ออกหมาย

(3) เหตุที่ต้องออกหมาย

(4) (ก) กรณีออกหมายจับ ต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของบุคคลที่จะถูกจับ

     (ข) ...............................................................................................................

     (ค) ในกรณีออกหมายค้น ให้ระบุสถานที่ที่จะค้นและชื่อหรือรูปพรรณบุคคล หรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้น กำหนดวันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้จะทำการค้นนั้น

(5) (ก) ในกรณีออกหมายจับ........................

(6) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล

 

เมื่อมีการจับผู้ต้องหาได้แล้วนำตัวไปไหน

วิธีการจับและขั้นตอนการจับ

หมายจับ   เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายนั้นต้องแจ้งข้อความในหมายให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ และถ้ามีคำขอร้อง ให้ส่งหมายนั้นให้เขาตรวจดูการแจ้งข้อความในหมาย การส่งหมายให้ตรวจดูและวันเดือนปีที่จัดการให้ทำการบันทึกไว้ในหมายนั้น     แต่ถ้าหากจัดการตามหมายไม่ได้ ให้บันทึกพฤติการณ์ไว้แล้วให้ส่งบันทึกไปยังศาลซึ่งออกหมายโดยเร็ว

 

ในการจับนั้น  เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ   แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ  การจับคือการที่รัฐเข้าไปใช้อำนาจเหนือบุคคลนั้นเพื่อเอาตัวผู้กระทำผิดไปไว้ในการควบคุมเพื่อทำการสอบสวน  กรณีเช่น คดีนายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล  แม้จะมีการแจ้งความร้องทุกข์ไว้ที่ สภ.กกตูม  แต่มีการขอเข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของ สน.ปทุมวัน เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับจะต้องสั่งให้นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพลไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนที่  สน.ปทุมวัน  ซึ่งเป็นท้องที่ทำการจับกุมได้  เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการจับกุมต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล รับทราบว่าถูกจับเรื่องอะไร ในข้อหาอะไร หากมีหมายจับให้แสดงแจ้งให้ทราบและอ่านให้ฟังและมอบสำเนาบันทึกการจับกุมด้วย  พร้อมกับแจ้งว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ  หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ 

 

Visitors: 56,314